Search

เกษตรผสมผสาน ปรับการผลิต...เปลี่ยนชีวิตเกษตรกร - เดลีนีวส์

simulasitech.blogspot.com

นาย สมโชค ณ นคร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (ผอ.สสก.1 จ.ชัยนาท) เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท  ซึ่งมีหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบ 9 จังหวัดภาคกลาง มีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรในทุกพื้นที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคกลางจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว

โดย 58% ของพื้นที่การเกษตรในภาคกลางเป็นนาข้าว รองลงมาเป็นพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เมื่อเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด ราคาสินค้าตกต่ำ หรือเกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ย่อมส่งผลถึงรายได้ของเกษตรกรที่ลดลง หนี้สินที่เพิ่มขึ้น การส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกพืช แบบผสมผสาน เช่น พืชผักสวนครัว ตลอดจนไม้ผล ไม้ยืนต้น เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถดำรงชีพด้วยผลผลิตของตนเอง ช่วยลดรายจ่ายที่จะต้องซื้อหาอาหารเพื่อมาบริโภค ที่เหลือยังสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มเติม ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่าเหลือรับประทานก็นำไปจำหน่าย เมื่อสินค้าหนึ่งขายไม่ได้ หรือราคาตกต่ำ หรือไม่มีผลผลิต ก็ยังมีสินค้าอื่นที่สามารถสร้างรายได้ส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต

ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคกลางมีเกษตรกรหลายรายที่ปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการเกษตรแบบผสมผสาน แล้วประสบผลสำเร็จ สามารถเป็นต้นแบบให้เกษตรกรที่สนใจได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม ยกตัวอย่าง เช่นนายวัชรินทร์  เสนาน้อย  เกษตรกรหมู่ที่ 2 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นระดับเขต ประจำปี 2562 สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าว 15 ไร่ ทำเกษตรผสมผสาน โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการดำรงชีวิต และปรับพื้นที่การเกษตรตามเกษตรทฤษฎีใหม่ จนถือได้ว่าประสบความสำเร็จ ผอ.สสก.1 จ.ชันาท กล่าว

คุณวัชรินทร์ เสนาน้อย เกษตรกรดีเด่นระดับเขต ประจำปี 2562 สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวอย่างทุกวันนี้ เดิมตนทำงานบริษัทผลิตรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายผลิต นานถึง 18 ปี ระหว่างเป็นพนักงานบริษัทมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานในโรงงานที่ตั้งอยู่ในแถบชนบทของประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรหลายชนิด ทำให้เห็นการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงาน การวางระบบน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ  และการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ รู้สึกชอบและสนใจ ต่อมา ปี 2552 ตนเกิดเจ็บป่วยจากความเครียดจากการทำงาน ทำให้ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ระหว่างรักษาตัวมีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะลาออกจากงานประจำ เพื่อมาเป็นเกษตรกร

คุณ วัชรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อตนลาออกจากงาน เริ่มต้นทำการเกษตรในพื้นที่ 15 ไร่ โดยแบ่งทำนาข้าว 13 ไร่ และปลูกผัก 1 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย 1 ไร่ แต่เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ด้านการเกษตร ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การพึ่งพาเกษตรเชิงเดี่ยวที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ทำให้รู้สึกว่าไม่มีความยั่งยืน จึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ทั้งหมด ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งพื้นที่ ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่ง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ 30%  ขุดสระเก็บกักน้ำ พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ปลูกข้าว พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ

เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายและพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเลี้ยงสัตว์และอื่นๆ และเริ่มหาความรู้ด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาตนเอง โดยการปรึกษาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่สำนักงานเกษตรอำเภอวิเศษชัยชาญ อย่างสม่ำเสมอ โดยสำนักงานเกษตรอำเภอวิเศษชัยชาญ  และสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง ได้ให้การสนับสนุนด้านความรู้ทางวิชาการ ในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน การให้เข้าร่วมรับการอบรมเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ การเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับดิน และการผลิตพืช  เป็นต้น 

ปัจจุบัน กิจกรรมภายในพื้นที่ 15 ไร่ ประกอบด้วย การปลูกข้าวหอมมะลิ 105 เพื่อบริโภค เหลือก็จำหน่าย ปลูกไผ่กิมซุงและไผ่หวาน ปลูกกล้วยสายพันธุ์ต่างๆ พริกไทย เพกา ผลไม้ เช่นฝรั่ง มะม่วง กระท้อน มะนาว และพืชผักอายุสั้น รวมทั้งเลี้ยงปลาเบญจพรรณ และเป็ดไข่ โดยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักจุลินทรีย์ และสารสกัดไล่แมลงไว้ใช้เอง  ซึ่งปลอดภัยทั้งตนเองและผู้บริโภค ทำให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องจากผลผลิตในพื้นที่ ทั้งที่เป็นรายได้รายวัน รายเดือน และรายปี ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVI-19) ที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้หรือการใช้ชีวิตเลย ถือได้ว่าสิ่งที่ทำเกิดความยั่งยืนในชีวิต และกำลังขยายผลสู่เกษตรกร   ในพื้นที่ใกล้เคียงที่เห็นความสำเร็จและสนใจที่จะทำตาม ซึ่งตนยินดีที่จะให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่ คุณวัชรินทร์ กล่าวในที่สุด

Let's block ads! (Why?)




August 20, 2020 at 02:46PM
https://ift.tt/326ZiXT

เกษตรผสมผสาน ปรับการผลิต...เปลี่ยนชีวิตเกษตรกร - เดลีนีวส์

https://ift.tt/3cArCF5


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เกษตรผสมผสาน ปรับการผลิต...เปลี่ยนชีวิตเกษตรกร - เดลีนีวส์"

Post a Comment

Powered by Blogger.